อามีตาลโตนด : ความตั้งใจสู่การสร้างรายได้ให้บ้านเกิด
ชื่อสินค้าอามีตาลโตนด : ความตั้งใจสู่การสร้างรายได้ให้บ้านเกิด
หมวดหมู่สินค้า
ที่อยู่วิสาหกิจชุมชนอามีนตาลโตนด : เลขที่ 1/7 หมู่ที่ 7 บ้านจะรัง ตำบลจะรัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
เบอร์โทร081 959 1021
LINE IDFattaalamin
อีเมลaminpalmyrasyrup@gmail.com
ลิ้งค์ Facebook

อามีตาลโตนด : จากความตั้งใจสู่การสร้างรายได้ให้บ้านเกิด

เพื่อคงไว้ซึ่งอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น “การขี้นตาล” ที่กำลังจะสูญหายไป แต่ก่อนชาวบ้านจะรังประกอบอาชีพ “ขึ้นตาล” แทบทุกหลังคาเรือน โดยนำน้ำตาลตโนดที่ส่งขายพ่อค้าคนนอกชุมชนเพื่อนำไปผลิตและเป็นวัตถุดิบปริมาณมาก เดือนละกว่า 13 ตัน แต่จากเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ เมื่อกว่า 20 ปีก่อน พ่อค้าคนนอกชุมชนไม่กล้ามารับซื้อน้ำตาลอีก ทำให้ชาวบ้านจะรังขาดรายได้เลี้ยงดูครอบครัว ผู้ชายซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวส่วนใหญ่จึงต้องไปใช้แรงงานแบบผิดกฎหมายที่ประเทศเพื่อนบ้าน เกิดปัญหาสังคมตามมา

  • ผู้ชาย ที่ไปเป็นแรงงานมีคุณภาพชีวิตย่ำแย่ แถมรายได้ที่หามาก็ไม่ค่อยพอจุนเจือครอบครัว
  • ผู้หญิง มีโอกาสเพียงเป็นลูกจ้างรายวัน หรือแรงงานฉีกใบจากได้เงินวันละไม่กี่สิบบาท
  • เยาวชน ขาดโอกาสทางการศึกษา บางรายมีปัญหายาเสพติด
  • ผู้สูงอายุ ต้องเป็นแรงงานเพื่อช่วยหาเลี้ยงลูกหลาน ขาดโอกาสดูแลสุขภาพ

ช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 เกิดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ทำให้ได้รับผลกระทบถูกผลักดันให้กลับสู่ภูมิลำเนาในพื้นที่ ทำให้ฟัต และยี คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ที่ต้องการสืบทอดภูมปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะการทำตาลโตนดใกล้สูญหายเพราะไม่มีผู้สืบทอด ต้นตาลที่เป็นทรัพยากรสำคัญถูกตัดโค่นขาย เพื่อนำเงินมาเลี้ยงครอบครัว

ในอดีตคนในชุมชนเกิดมาก็เห็นตาลโตนดยืนตะหง่านอยู่ตามคันนา เพื่อบอกอาณาเขตป้องกันการลุกล้ำพื้นที่ เพราะตาลยืนต้นเด่น โตง่าย ไม่ต้องดูแล ทั้งยังขยายพันธุ์ง่าย อายุยืน เพียงลูกตาลที่สุกหล่นจากต้นก็สามารถงอกเป็นต้นอ่อนได้ในเวลาไม่นานเกินรอ นี่คือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่บรรพบุรุษนำมาแก้ไขปัญหา แม้คนในชุมชนเองก็บอกไม่ได้ว่าต้นตาลมีอายุกี่ปีแล้วเพราะเกิดมาก็เห็นแล้ว

ฟัต และยี ที่มีความคิดที่แตกต่างจากคนหนุ่มสาวทั่วไป เพียงเพื่ออยากเห็นคุณค่าของตาลโตนดสมัยเด็ก ๆ ยังคงอยู่ และพัฒนาเพิ่มขึ้น ให้คนในชุมชนมีอาชีพและรายได้จากภูมิปัญญาอาชีพการทำน้ำตาลโตนดของชุมชนท้องถิ่นที่มีแต่ดั้งเดิมให้คงอยู่ พัฒนาต่อยอดของในท้องถิ่นด้วยการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า และเกิดประโยชน์ต่อชุมชน และสังคม คนในชุมชนมีรายได้ สังคมได้รับคุณค่าจากธรรมชาติแท้ ๆ จากสิ่งที่บรรพบุรุษส่งต่อไว้ให้สืบทอดต่อไป

จึงเกิดการร่วมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอามีนตาลโตนด หมู่ที่ 7 บ้านจะรัง ตำบลจะรัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี นำพาชีวิตกว่า 17 ครอบครัว สนับสนุนส่งเสริมอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น “การขึ้นตาล” เพราะนี่ไม่ใช่เพียงอาชีพ แต่ยังเป็นวิถีชีวิต เป็นคุณค่าและตัวตนของคนท้องถิ่น ที่เป็นความภาคภูมิใจที่สืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สร้างรายได้ด้วยการแปรรูปเป็นน้ำตาลโตนด และน้ำตาลโตนดผงสินค้าชุมชน เพื่อคืนความเข้มแข็งสู่ชุมชน

อามีตาลโตนด เดินทางมาถึงวันนี้ได้เพราะมีความภาคภูมิใจในบ้านเกิด ในรากเหง้าวิถีชีวิต ฟัตฮีย๊ะ ดอเลาะ รองประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอามีนตาลโตนด กล่าวเพิ่มเติมว่า “ความกินดีอยู่ของพี่น้องบ้านเรา คือ เป้าหมายที่ต้องไปให้ถึง หากวันหนึ่งผู้คนกลับมาเลือกบริโภคน้ำตาลแบบดั้งเดิมอย่างน้ำตาลโตนดกันมากขึ้น ...วันนั้นชาวบ้านจะรัง และอีกหลายหมู่บ้านในจังหวัดปัตตานี ที่มีอาชีพเชื่อมกับวิถีการทำตาลโตนด ก็คงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย”

ยิ่งไปกว่านั้น การส่งเสริมการทำอาชีพนี้ คือการเรียกคืนคุณค่าของวิถีท้องถิ่น


แผนที่

สินค้าอื่นๆ

คำม่อนคำมิน ผ้าทอล้านนาล้านช้าง
เอ็มพลัสสหคลินิก หน่วยบริการสุขภาพที่ยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง
ทะเลจร Tlejourn - รองเท้าเพื่อลดการสร้างขยะ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

Copyright © 2013 THETHAIACT