ประชาธิปไตย
ความเป็นพลเมืองคืออะไร
ความเป็นพลเมือง คืออะไร?
“ความเป็นพลเมือง” คือ ความสัมพันธ์ของรัฐและประชาชนและประชาชนในแต่ละรัฐก็จะมีบทบาทที่แตกต่างกันออกไปตามเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายร่วมของรัฐ ในฐานะพลเมืองของสังคมประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “ประชาธิปไตย” จะสมบูรณ์ไม่ได้หากพลเมืองขาดความเป็นพลเมือง Keith Faulks (2000) กล่าวไว้ว่า “ความเป็นพลเมืองเป็นมากกว่าสิ่งอื่นใด สามารถทําให้เราได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน โดย ที่ประชาธิปไตยได้ส่งเสริมให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการมีอิสระทางความคิด” หากแต่ความซ้ำซ้อนทางการปกครองอาจทำให้เราหลงลืมและไม่ทันได้ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ความเป็นพลเมืองมากนัก ด้วย “ความเป็นพลเมือง” เป็นส่วนสำคัญในการดำรงอยู่ของการปกครองแบบประชาธิปไตยที่เชื่อในสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมของมนุษย์ ความเสรีในการแสดงความคิดเห็น ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็ดำรงอยู่ภายใต้ระบบที่สร้างความแตกต่างทางชนชั้นและสิทธิเสรีภาพอย่างชัดเจน อย่าง ระบบเครือญาติ ระบบอาวุโส และ ระบบกษัตริย์ นั่นทำให้ “ความเป็นพลเมือง” ของพลเมืองไทยและความเข้าใจใน “ความเป็นพลเมือง” ของคนไทยจึงออกมาในรูปแบบที่คลุมเครือและไม่ชัดเจน อย่างที่ปรากฎในปัจจุบัน
ตาราง 1 สิทธิและหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม โดย Marshall and Botamore(1992)
สิทธิพลเมือง | ความรับผิดชอบในฐานพลเมืองที่ต้องพึงปฏิบัติ |
สิทธิและเสรีภาพ · เสรีภาพในการเคลื่อนไหว · สิทธิของความเป็นส่วนตัว · เสรีภาพในการพูด คิด และการนับถือศาสนา · สิทธิในการรับข้อมูลข่าวสาร · สิทธิในการรับการรักษาและการรักษา สิทธิทางการเมือง · สิทธิในการเลือกผู้แทน · สิทธิในการแสดงจุดยืนทางการเมือง · สิทธิในการรวมตัวทางการเมือง สิทธิทางสังคม · สิทธิทางการศึกษา · สิทธิในการได้รับความปลอดภัย · สิทธิในด้านสุขภาพอนามัย สิทธิทางเศรษฐกิจ · สิทธิในการประกอบอาชีพ · สิทธิในการทำข้อตกลง(สัญญา)
| · ความรับผิดชอบต่อสังคม · การรณรงค์เพื่อสังคม · การเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของพลเมือง · การเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม · เรียกร้องความต้องการที่เป็นไปได้ต่อรัฐบาล · ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง · การเรียกร้องความต้องการความยุติธรรม · การได้รับการศึกษา · การรู้กฎหมาย · การได้รับการศึกษาที่เกี่ยวกับการเมือง · ตื่นตัวในการใช้สื่อ · จ่ายภาษี ติดตามการให้คุณภาพบริการทางสังคมของ รัฐและการใช้จ่ายเงินสาธารณะ |
ลองเปิดใจให้กว้าง ให้น้ำหนักกับคุณค่าทางด้านเหตุผลมากกว่าคุณค่าทางด้านจิตใจ บางครั้งเราอาจจะพบว่า ตรรกะที่แบกเริ่มสั่นคลอน และอย่าลืมทุกอย่างล้วนแปลผันไปตามเวลาสิ่งที่คิดว่าถูกในตอนนั้น ตอนนี้มันอาจะเป็นเพียงตรรกะที่ล้มเหลว…ในเมื่อเธอทำดีได้และสามารถทำให้มันดีได้มากกว่าเก่า ทำไมเธอไม่ทำ?
เรียบเรียงโดย : ลักษณพร ประกอบดี