ปัจจุบันสมัยกับกรอบเพศที่ลื่นไหล และการแต่งกายที่ไม่จำเป็นต้องจำเจ
1. ) คอสเพลย์ไม่ตีกรอบเพศ
เดือนมิถุนายนในทางสากลจะยึดเป็นเดือนของความหลากหลายทางเพศ การเฉลิมฉลองอัตลักษณ์ที่เลือกเอง แต่งกายตามที่ชอบ เพื่อออกมาร่วมรำลึกถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้มีความหลากหลายทางเพศ และเฉลิมฉลอง “ไพรด์” ความหลากหลายที่มากกว่าแค่ชายและหญิง ซึ่งเพศชายและหญิงก็เป็นส่วนหนึ่งในความหลากหลายเดือนมิถุนายนจึงเป็นเดือนแห่งการย้ำเตือนว่าทุกคนคือมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเพศไหนก็ตาม
เพศชายเองก็มีกรอบที่บังคับให้แต่งตัวตามมาตราฐาน ที่ไม่รู้ว่าใครกำหนดให้ เพศหญิงก็เช่นกัน ทั้งที่ทุกคนควรสามารถเลือกการแต่งกายได้ตามชอบ มีเสรีภาพที่เลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่หลากหลาย
ใครเป็นคนกำหนดเรื่อง อิสระในการแต่งตัวเป็นของทุกคน ?
และนี่คือ เรื่องราวของสกอร์ผู้ชายโดยกำเนิด และยังเป็นเพศชาย เพิ่มเติมคือ สกอร์ชอบคอสเพลย์เป็นผู้หญิง ที่สำคัญคือ ไม่ว่าคุณจะเพศไหน การแต่งตัวข้ามเพศคือสิทธิของทุกคนที่ทำได้ ไม่ควรมีกฎเกณฑ์มาบังคับ เพราะมันคือสิทธิส่วนบุคคล เป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์
Q: แนะนำตัวหน่อยแบบที่คนภายนอกเรียกแล้วสบายใจ
ชื่อ สกอร์นี่แหละครับ ไม่มีเนมคอสตายตัวด้วย ในวงการคอสเขาจะมีการตั้งชื่อเนมคอส ก็เลยใช้ชื่อเนมคอสว่า สกอร์ไปเลย เพราะมันก็เป็นตัวเราดี ชื่อเราก็ไม่เหมือนคนอื่นด้วย อายุ 23 เพศชาย ชอบผู้หญิง ดยกำเนิดคือเพศชาย แต่ด้วยความที่รูปลักษณ์เราเหมือนผู้หญิง
อีกชื่อคือ กอหญ้า เพราะรุ่นพี่ที่โรงเรียนเขาเรียกสกอร์ว่า กอ ไป ๆ มา ๆ เขาก็รู้สึกว่าเราดูสาว หน้าหวาน เลยเป็น กอหญ้า แล้วก็แพร่ระบาดจนทุกคนเอาไปเรียกกอหญ้า เเต่เราก็โอเคนะ ไม่ได้ซีเรียส เราใช้ชื่อเพจว่ากอหญ้าด้วยซ้ำ
Q: เริ่มแต่งคอสเพลย์ครั้งแรกเมื่อไหร่
“คอสครั้งแรกประมาณ ม. 5 ไม่ได้คิดว่าจะคอสแต่โดนรุ่นพี่ที่ไม่รู้จักทักมา ก็ถ่ายรูปลงเฟสในกลุ่มตามปกติ เขาเลยทักมาชวนไปคอส แต่เราก็มีความสนใจแค่ยังไม่เคยแต่งเอง พอเขาบอกว่ามีชุด มีแต่งหน้าทำผมให้ เลยเป็นจุดเริ่มต้นการคอสเพลย์ เป็นการคอส J-Rock (เจแปนร็อค) แล้วก็รู้สึกชอบ”
Q: ทำไมถึงชอบการแต่งคอสเพลย์แบบนี้
“เราชอบเพราะว่า ตอนเด็กทุกคนก็เคยดูการ์ตูนใช่ไหม แล้วตอนเราเด็ก ๆ ก็อยากแปลงร่างเป็นตัวละครที่เราชอบ พอโตขึ้นก็รู้สึกว่าอยู่ในจุดที่สามารถคอสเพลย์ เพื่อสวมบทาทเป็นตัวละครที่ชอบได้แล้ว ก็เลยทำด้วยความชอบ”
Q: สกอร์เลือกตัวละครที่จะสวมบทบาทยังไง
“แนวในการเลือกคอสคือ เราจะเลือกตัวละครที่เข้ากับลุคของเราที่สุด ก็คือตัวละครจิบิน่ารัก จะไม่ค่อยคอส จะเลือกตัวที่ส่วนสูงใกล้เคียงกับเรา หรือใส่ชุดแล้วดูเข้ากับเราที่สุด เพราะถ้าฝืนใส่ชุดที่ไม่เข้าหรือคอสไม่รอดจริง ๆ ทำไปจะเหมือนเราทำร้ายตัวละครที่เราชอบเเทน”
Q: สบายใจกับคำชมที่ระบุเพศชัดเจนไหม เช่น สวย หล่อ
“มันเป็นความรู้สึกส่วนบุคคลต่อกับคำชม เราไม่ได้ซีเรียสว่าคนจะมองว่าสวยหรือหล่อ เขามองเราว่าสวยหรือหล่อก็คือคำชม เขาก็พูดตามที่เห็น ถ้าเราบอกว่าไม่ชอบเขาก็จะชมอีกแบบ สุดท้ายมันก็ชมอยู่ดี เป็นเรื่องส่วนบุคคลมาก ๆ เลย”
Q: คิดยังไงกับการแต่งตัวข้ามเพศที่ไม่ได้ตรงกับเพศโดยกำเนิด
“เรื่องอัตลักษณ์เพศคือสิทธิของทุกคน เราห้ามเขาไม่ได้หรอก ส่วนตัวมองว่าการแต่งตัวข้ามเพศไม่ได้ผิดอะไร ไม่มีกฎเกณฑ์ว่าผู้ชายต้องใส่แต่กางเกงห้ามใส่กระโปรง แต่คำถามคือใครเป็นคนกำหนดเรื่อง อิสระในการแต่งตัวเป็นของทุกคน แค่ต้องคำนึงว่าเสื้อผ้าเหมาะสมกับสถานที่ที่เราไปไหม เข้ารึเปล่าแค่นั้น แต่ว่าในเมืองก็จะเปิดรับความหลากหลายมากกว่าต่างจังหวัด เพราะความเจริญมันอยู่ที่จุด ๆ เดียวคือ กรุงเทพ อาจมีบางจังหวัดที่เข้าใจแต่ก็น้อยมากที่จะเข้าใจและยอมรับเรื่องรสนิยมในการแต่งตัวแบบนี้”
Q: ปกติแต่งตัวแนวไหน
“ตัวเราก็มีสไตล์การแต่งตัวเป็นได้ทั้งชายและหญิง แต่จะยึดไลน์ผู้ชายเป็นหลัก ก็จะประยุกต์กับดีไซน์เสื้อผ้าผู้หญิง จะออกไปทางunisex เพราะแฟชั่นเสื้อผ้าผู้หญิงมีมากกว่าชองผู้ชายอยู่เเล้ว คำถามคือทำไมเราต้องจำกัดการแต่งตัวให้อยู่แค่เสื้อผู้ชายด้วย
ส่วนตัวคิดว่าคนที่แต่งตัวข้ามเพศ แต่จิตใจยังตรงเพศโดยกำเนิด หรือคอสข้ามเพศยังมีน้อย เพราะส่วนมากก็จะทรานส์ แต่เรายังเป็นเพศสภาพชาย เพศมันไม่ได้ถูกกำหนดที่เสื้อผ้า เสื้อผ้าก็ไม่ได้กำหนดเพศเสมอไป”
Q: เคยมีช่วงสับสนไหม
เคยเกิดการสับสนอยู่เหมือนกัน แต่เราก็ทดสอบจิตใจเราดูว่าเราจะชอบเพศผู้ชายไหม หรือเพศอื่นไหม ซึ่งก็ไม่ได้รู้สึกกับผู้ชาย แต่กับผู้หญิงเรายังรู้สึก เรายังหวั่นไหว อาจจะเพราะเราชอบผู้หญิง ชอบแต่งตัวเหมือนผู้หญิง จิตใจเราก็เลยชอบผู้หญิงก็ไม่แปลก เราก็ยังนับตัวเองว่าเป็นความหลากหลายทางเพศ เป็นส่วนหนึ่งในนั้น รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในความหลกหลายของการแต่งตัว เราไม่ยึดถือทำเนียมสไตล์การแต่งตัวที่ตรงตัว ก็เลยถือว่าเป็นความเป็นหลากหลายทางเพศอีกแบบหนึ่ง”
2.) เพราะรัฐมืดบอดในความหลากหลาย
“ตั้งแต่ระดับนโยบายจากกระทรวงต่าง ๆ ที่มีคำสั่งให้คนมีจู๋ใส่กางเกง คนมีจิ๋มใส่กระโปรง ทั้งที่เขาอาจจะไม่ได้อยากแต่งแบบนั้น”
นอกจากสกอร์ที่เราสนทนาด้วยแล้ว กรกนก คำตา ตัวแทนจากพรรคสามัญชน และคนทำงานรณรงค์ผลักดันความหลากหลายทางเพศ ก็เป็นอีกหนึ่งบุคคล ที่ร่วมเล่าให้ฟังถึงความหลากหลายในประเทศนี้ถูกรัฐควบคุมโดยกรกนกเริ่มต้นจากประโยคข้างต้น เธออธิบายว่านโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐได้กำหนดบทบาทแต่ละอาชีพในการแต่งตัว โดยยึดตามเพศสภาพ แต่นโยบายเหล่านี้ไม่ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบจากคนทำงานหรือประชาชนเลย
“มันเลยตามมาด้วยปัญหาในระดับปัจเจกบุคคล เช่น ของเล่นเด็กผู้ชายได้ทดลองเครื่องมือช่าง ฝึกให้คุ้นชิรนกับการต่อสู้ เข้มแข็งผ่านของเล่น ส่วนของเล่นผู้หญิงก็ออกแบบให้ชินกับงานบ้าน มันเลยกำหนดให้พวกเราโตมาแล้วมีความสามารถที่กำหนดผ่านมุมมองของรัฐ ซึ่งอาจกดทับความสามารถอื่น หรือแม้แตโอกาสในการฝึกฝนเรื่องต่าง ๆ ประชาชนควรได้เลือกเอง”
กรกนก ยกตัวอย่างผ่านของเล่น เมื่อมุมมองรัฐที่ต้องการควบคุมประชาชนทุกแง่มุม ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ ความชอบ และการเตรียมความพร้อมในวัยเด็ก นอกจากนั้นเธอยังอธิบายถึงความเคยชินที่ต้องมีบทบาทหน้าที่ทางเพศ ที่ออกแบบจากรัฐ ทำให้ประชาชนเคยชินกับความเรียบร้อยตามที่รัฐต้องการ
“ซึ่งมันขัดกับความเป็นมนุษย์ มนุษย์มีเสรีภาพมีความหลากหลาย แต่รัฐพยายามตีกรอบเสรีภาพแม้กระทั่งกับเนื้อตัวร่างกายประชาชน จึงเป็นประเทศที่ไม่มีเสรีภาพ”
เช่นกันเมื่อได้พูดคุยถึงตรงนี้ตัวแทนจากพรรคสามัญชน ก็เล่าถึงเสรีภาพในการแต่งกายเพื่อเชื่อมโยงถึงกรณี “หยก” เด็กนักเรียนที่ใส่ชุดไปรเวทไปโรงเรียนแต่ถูกปฏิเสธให้เข้าร่วมชั้นเรียนว่า
“แม้แต่ฝ่ายประชาธิปไตยด้วยกันเองยังมองเสรีภาพเรื่องเพศ การแต่งตัวว่าต้องเหมาะสม แต่ไม่เคารพเสรีภาพของน้องหยกที่เขาจะแต่งชุดแบบไหนไปเรียนก็ได้ กฎเกณฑ์ที่ไม่ได้ช่วยให้ความสามารถมนุษย์เพิ่มขึ้น อย่างชุดยูนิฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะอาชีพใด หรือแม้แต่ชุดนักเรียน มันไม่ได้ทำให้ความสามารถเขาเพิ่มขึ้น เขายังคงความสามารถเหมือนเดิม แม้จะใส่ชุดใดก็ตาม ยูนิฟอร์มจากรัฐ คือสิ่งที่สะท้อนว่ารัฐมองเห็นความมีกาลเทศะ มารยาททางสังคมแบบไหน แบบที่เป็นยูนิฟอร์มคือดีสำหรับเขา แต่ไม่ได้มองว่าเป็นเสรีภาพที่ใครอยากใส่ก็ใส่ไป ใครไม่อยากใส่ก็อย่ามาบังคับกัน”
กรกนกอธิบายเรื่องนี้ว่า การควบคุมจากรัฐมันอยูใกล้ตัวเรา รวมทั้งทำให้เห็นกรอบของเพศที่ปราศจากความลื่นไหลและหลากหลาย เช่น เรื่องการแต่งคอสเพลย์ ก็ถูกกรอบเพศจำกัดเสรีภาพของปัจเจกบุคคลด้วย
“คือคอสเพลย์ มันงานไอเดียสร้างสรรค์จินตนาการถึงมังงะที่เราชอบ มีเสรีภาพในรสนิยมตามความชอบของบุคคล แต่ก็ไม่สามารถเป็นที่ยอมรับได้ง่ายว่าเพศไหนก็คอสเป็นตัวที่ชอบได้ เพราะเราคุ้นชินกับการถูกควบคุมพฤิกรรมแบบชายและหญิงไม่มีความหลากหลายอื่น”
3.) เพราะคำว่ามนุษย์ยิ่งใหญ่กว่าเพศ
อีกเสียงหนึ่งที่สนับสนุนเสรีภาพของอัตลักษณ์ทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นรสนิยม การแต่งตัว จนไปถึงการแต่งงาน ซึ่งความรักต้องมีเสรีภาพ ไม่ควรมีกฎเพศมากำหนดว่าเพศไหนแต่งงานกันได้และไม่ได้ แต่ต้องมีเสรีภาพในการรัก เพราะความรักเป็นของทุกคนคือ "ถั่วเขียว" หรือ ธีราภรณ์ พุดทะสี มิสแกรนด์ไพรด์ แอมบาสเดอร์ เชียงใหม่ประจำปี พ.ศ. 2566 การพูดคุยได้เริ่มต้นขึ้นโดยเธอเชื่อว่า การแต่งตัวเป็นเสรีภาพในรสนิยม และเป็นสิทธิของทุกคน กรอบเพศไม่สามารถมาตัดสินใครได้
“เรามองว่า มันไม่ควรมีใครมากำหนดให้ชายหรือหญิงต้องแต่งตัวตามเพศสภาพของตัวเอง เรารู้สึกว่าการแต่งกายมันเป็นเรื่องอิสระ เรื่องของรสนิยมความชอบ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ดังนั้นแล้วเนี่ย ไม่ว่าเขาจะแต่งตัวอย่างไร เราก็ไม่ควรที่จะไปตัดสินเขา ในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเราควรที่จะเคารพและก็ให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
และเพราะในการประกวด ถั่วเขียว ได้ใช้ป้ายหาเสียงของพรรคการเมืองในการออกแบบตัดเย็บชุด จนเป็นที่สนใจ ซึ่งมิสแกรนด์ไพรด์ แอมบาสเดอร์ เชียงใหม่ปีล่าสุดอธิบายว่า
“การที่เราเลือกไวนิลหาเสียงของพรรคการเมืองมาตัดเป็นกระโปรง ซึ่งตัวกระโปรงเราตัดเย็บเอง เราใช้ไวนิลป้ายหาเสียงพรรคการเมือง มาตัดเย็บ ไดคัทตัวอักษรในป้ายไวนิลมาตัดแปะเรียงคำใหม่ ด้านหน้าเรียงเป็นคำว่า มนุษย์ยิ่งใหญ่กว่าคำว่าเพศ ส่วนด้านหลังกระโปรงเราได้เรียงเป็นคำว่า คน เป็นนัยยะสะท้อนว่า ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนท้ายที่สุดสิ่งที่เหมือนกันคือ เราเป็นคนส่วนการทาหน้าสีทอง มีสีแดงไหลออกจากดวงตา เราอยากจะสื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นเทพจำแลงมาจากไหนสุดท้ายถ้ากรีดเลือดออกมาดูก็เป็นสีแดงเหมือนกัน คือ เราอยากจะสะท้อนว่าส่วนหนึ่งพรรคการเมือง นักการเมือง คือผู้ที่จะเข้าไปผลักดัน ทำให้สมรสเท่าเทียมมันเกิดขึ้นจริง และที่สำคัญมันไม่ใช่เรื่องของพรรคการเมืองเพียงอย่างเดียว และยิ่งไม่ใช่เรื่องของปัจเจก แต่เป็นเรื่องของเราทุกคน"
ในท้ายที่สุด ถั่วเขียวเชื่อว่า มนุษย์จะยังไม่สามารถเท่าเทียมกันได้ หากช่องว่างความเหลื่อมล้ำยังค้ำสถาบันของสังคมเฉกเช่นทุกวันนี้
“ที่เราไม่สามารถเท่าเทียมทางเพศได้ เพราะคนยังไม่เท่ากัน เพราะทุนนิยมที่ใช้กันในปัจจุบันจะสร้างความเหลื่อมล้ำให้อาชีพแต่ละอาชีพ ก่อให้เกิดชนชั้น ซึ่งต่อให้เป็นเพศเดียวกันแต่คนละชนชั้น คนละอาชีพ โอกาสและต้นทุนในชีวิตก็ไม่สามาเท่ากันได้เราจะไม่สามรถเท่ากันทุกคนได้ถ้ายังอยู่ภายใต้ทุนนิยม ไม่ใช่แค่เรื่องเพศ แต่คือทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นโอกาสที่จะเติบโตทางธุรกิจ สวัสดิการ แรงงาน เราจะยกตัวอย่างตอนนี้ที่เป็นกระแสคือสุราก้าวหน้า ด้วยตัวกฎหมายหลาย ๆ ข้อเอื้อให้กลุ่มทุนผูกขาดการผลิตสุรา ทำให้ประชาชน คนตัวเล็กตัวน้อยไม่ได้มีโอกาสที่จะเติบโตในทางธุรกิจการผลิตสุราได้
ในกฎหมายปัจจุบันอนุญาตให้ผู้ที่ผลิตสุราได้นั้น ต้องมีผลิตโรงงานและกำลังคนในการผลิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากจะผลิตสุราให้ได้ตามกำลังที่กฎหมายกำหนด ต้องเป็นคนที่มีทุนทรัพย์มากอยู่แล้ว กำลังคน และเครื่องจักรรวมถึงปริมาณในการผลิตสุราท้องถิ่นไม่สามารถผลิตได้ตามกฎหมาย จึงทำให้อาชีพผลิตสุราท้องถิ่นไม่เกิดขึ้น และไม่ว่าจะเพศใดก็ตามที่ทำอาชีพนี้ ก็ไม่สามารถค้าขายสุราได้เหมือนกับนายทุนที่กฎหมายอนุญาต ทุนนิยมจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในการกดทับเพศ ทำให้รายได้และโอกาสเข้าไม่ถึงชนชั้นอื่น ยิ่งในชนชั้นนั้นหากมีการกดขี่เพศอื่นด้วย ก็จะยิ่งทำให้มนุษย์เหล่านั้นโดนกดทับด้วยทั้งทุนนิยมและเพศ มนุษย์จึงไม่อาจเท่าเทียมได้ หากไม่แก้ไขกลไกทุนนิยมให้เอื้อกับการกระจายรายได้ให้ทุกคนทุกเพศอย่างเท่าเทียม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มเสรีภาพให้ประชาชน ... เราขอมอบการได้รางวัลครั้งนี้แด่การสมรสเท่าเทียม แด่เสียงเสรีภาพ และความเสมอภาคในสังคม No God No King Only Human”